การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขี้นบนเครือข่าย


จุดประสงค์

1. สามารถตรวจสอบข้อบกพร่องของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่อเครือข่ายได้
2. สามารถปรับปรุงและติดตั้งคำต่าง เพื่อให้ระบบสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้สำเร็จ
3. ฝึกวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาด้านเครือข่ายที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ
4. ฝึกวิเคราะห์ปัญหาด้านเครือข่ายและหาหนทางแก้ไขได้ตรงจุด


ปัญหาของระบบเครือข่ายเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งในบางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาตรวจสอบ ดังนั้นการตรวจสอบดังกล่าวจะต้องดำเนินการไปทีละขั้นที่ละอย่าง เพื่อหาจุดบกพร่องบนเครือข่ายว่าต้นหุของปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้นั้นเกิดจากสาเหตุใด โดยเนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการตรวจสอบหาข้อบกพร่องเบื้องต้น

การตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
                ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกติดตั้งไม่ดีพอจะทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้ โดยในเบื้องต้นในนี้จะดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์การ์ดเครือข่าย และอุปกรณ์อย่างฮับและสายแลน เป็นต้น
                ตรวจสอบการ์ดเครือข่าย
1.       ที่เดสก์ทอป ให้คลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกรายการ Properties
2.        คลิกที่แท็บ Hardware
3.      คลิกปุ่ม Device Manager

4.       ให้ตรวจดูอุปกรณ์การ์ดเครือข่ายตรง Network adapters หากพบสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายตกใจ นั้นหมายความว่าพบปัญหาเบื้องต้นที่การ์ดเครือข่ายแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ของการ์ดเครือข่ายบนเครื่องนั้นๆ
5.       ทำการคลิกขวาที่ซื่อการ์ดเครือข่ายนั้นแล้วเลือกรายการ Properties
6.       คลิกที่แท็บ Driver
7.       คลิกปุ่ม Update Driver


8.     ในที่นี้ให้ทดลองติดตั้งด้วย Wizard ก่อน ดังนั้นให้เลือกรายการ Yes, this time only แล้วตามด้วยปุ่ม Next
9.       กำหนดให้เครื่องค้นหาแบบอัตโนมัติ ด้วยการเลือกรายการ Install the software automatidally และตามด้วยปุ่ม Next
10.   เครื่องกำลังดำเนินการค้นหาเพื่ออัปเดดไดรเวอร์การ์ดเครือข่าย

11.   ได้อัปเดดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใหกดปุ่ม Finish
12.   จากนั้นให้คลิกปุ่ม Close
13.   ได้ติดตั้ง/อัปเดดไดรเวอร์การ์ดเครือข่ายเป็นที่เรีบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่วินโดวส์ไม่สามารถค้นหาไดรเวอร์การ์ดเครือข่ายได้ อาจจำเป็นต้องเลือกการติดตั้งด้วยตนเอง และใส่แผ่นดิสก์หรือซีดีไดรเวอร์ของการ์ดเครือข่ายรุ่นดังกล่าวลงไป จากนั้นให้ดำเนินการติดตั้งจนเสร็จสมบูรณ์
หลังจากที่ได้ติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ลองทดสอบว่าการการ์ดเครือข่ายอยู่ในสถานะหร้อมให้งานหรือไม่
14.   คลิกขวาที่ชื่อการ์ดเครือข่าย แล้วเลือกรายการ Properties
15.   พบว่าการ์ดเครือข่ายอยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน
16.   คลิกที่แท็บ Resources
17.   พบว่าการ์ดเครือข่ายไม่ได้ conflicts กับอุปกรณ์ใดๆ นั้นหมายความว่าการ์ดเครือข่ายพร้อมให้งานแล้ว

ตรวจสอบสายแลน
ให้ดำเนินการตรวจสอบสายแลนว่าได้เสียบเข้าไปในเครื่องเรียบร้อยแล้วหรือยัง รวมถึงสายแลนที่ใช้เชื่อมต่อจะต้องอยู่ในสถาพพร้อมใช้งาน และหากเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพืยงสองเครื่องสายแลนจะต้องเป็นชนิดสายไขว้
18.   ตรวจสอบปลั๊กสายแลนว่าเสียบเข้าในเครื่องแล้วหรือยัง

ตรวจสสอบอุปกรณ์ฮับหรือสวิตซ์
ในกรณีที่เครือข่ายให้ฮับหรือสวิตซ์ ให้ดำเนินการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ฮับหรือสวิตซ์เสียบปลั๊กไฟหรือยัง รวมถึงปลั๊กสายแลนว่าเชื่อมต่อลงในแต่ละพอร์ตแน่นหรือไม่
19.   ตรวจสอบว่าฮับหรือสวิตซ์เสียบปลั๊กไฟหรือยังพร้อมทั้งตรวจสอบปลั๊กสายแลนแต่ละพอร์ตว่าเชื่อมต่อแน่นหรือไม่

การทดสอบการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทาง
                ในกรณีเกิดปัญหาที่เครื่องข่ายไม่สามารถติดต่อกับเครื่องปลายทางได้ให้ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.       เข้าไปที่ Network Connections หากเป็นไปดังรูป แปลว่ายังไม่ได้เสียบสายแลน ไห้ดำเนินการเสียบสายแลนเพื่อเชื่อมต่อแต่ละเครื่องให้เรียบร้อย
2.       หรือหากไอคอนมีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายตกใจ แปลว่าเชื่อมต่อไม่ได้ จะต้องมีการติดตั้งค่าใหม่

3.       ให้คลิกขวาแล้วเลือกรายการ Properties
4.       ตรวจสอสบการคลิกเครื่องหมายถูก โดยให้คลิกตามรูป จากนั้นคลิกรายการ Internet Protocol แล้วตามด้วยปุ่ม OK

5.       กรอกชุดหมายเลขไอพีลงไป ซึ่งจะต้องกำหนดตัวเลขให้ตรงกลุ่มกัน เช่น 192.168.0 ส่วนตัวเลขสุดท้ายคือหมายเลขประจำเครื่อง ซึ่งจะต้องมีค่าแตกต่างกัน โดยในที่นี้กำหนดเป็นหมายเลข 5 และซับเน็ตคือ 255.255.255.0 เหมือนกันทุกเครื่อง แล้วตามด้วยปุ่ม OK
6.       คลิกเครื่องหมายถูกตรงเซ็กบ๊อกซ์ Show icon in notification area when connected แล้วตามด้วยปุ่ม Close

7.       เครื่องได้เชื่อมโยงเข้าเครือข่ายแล้ว
8.       ไอคอนได้เปลี่ยนเป็นดังรูป ซึ่งหมายความว่าเชื่อมโยงเครือข่ายแล้ว

9.       ไปที่ทาสก์บาร์ ดับเบิลคลิกที่ ดูตรงข้อความที่ลูกศรชี้ จะเห็นว่าได้เชื่อมต่อจริงที่ความเร็ว 100 Mbps
10.   คลิกที่แท็บ Support แล้วดูที่ลูกศรชี้ ก็จะพบหมายเลขไอพีแอดเดรสของเครื่อง

11.   จากนั้นให้ทดลองใช้คำสั่ง ping เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นๆ บนเครือข่าย หากเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทางได้ ก็จะมีการตอบรับกลับมาดังรูป


12.   หากมีการตอบรับกลับมาเป็น time out หมายความว่าเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ปลายทางไม่ได้ ให้กลับไปตรวจสอบตามขั้นตอนที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
การตรวจสอบการติดตั้งค่าในเวิร์กกรุ๊ป
กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายไม่สามารถเข้าไปเป็นสมาชิกในเวิร์กกรุ๊ปได้ ให้ดำเนินการตรวจสอบตามชั้นตอนต่อไปนี้
1.       ขั้นตอนแรก ให้ตรวจสอบไฟร์วอล์ลก่อน ด้วยการไปที่ Control Panel แล้วดำเบิลคลิกที่ไอคอน Windows Firewall หากได้ติดตั้งค่าดังกล่าวแล้ว สามารถข้ามไปขั้นตอนที่ 5 ได้เลย
2.       จะแสดงไดอะล็อกบ๊อกซ์ windows Firewall ดังรูป


3.       คลิกที่แท็บ Exceptions
4.       คลิกเครื่องหมายถูกที่ File and Printer Sharing แล้วตามด้วยปุ่ม OK
5.       เข้าไปที่ My Network Places แล้วคลิกที่รายการ View workgroup computers หากพบว่าเครื่องเราอยู่โดดๆ ไม่พบเครื่องอื่น ๆ เลย ในขณะที่เครื่องอื่นพบสมาชิกในเครือข่ายให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่ากรอกชื่อเวิร์กกรุ๊ปไม่ตรงกัน ซึ่งพบว่ากรอกชื่อผิดเป็น STAAF ที่ถูกต้องคือ STAFF


6.       แก้ไขใหม่ด้วยการคลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกรายการ Properties
7.       คลิกที่แท็ป Computer Name
8.       คลิกปุ่ม Change
9.       กรอกชื่อเวิร์กกรุ๊ปให้ถูกต้อง
10.   แสดงข้อความเข้าสู่เวิร์กกรุ๊ป STAFF
11.   แล้วบูตเครื่องใหม่


12.   เข้าไปที่ My Network Places แล้วคลิกที่รายการ View workgroup computers หากพบว่าเครื่องอื่นๆ ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายบนเวิร์กกรุ๊ป STAFF