อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นและการแชร์อินเทอร์เน็ตบนเครือข่าย


จุดประสงค์
1. อธิบายความหมายและบอกประวัติโดยย่อยของอินเทอร์เน็ตได้
2. สามารถเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมเครือข่าย TCP/IP กับแบบจำลอง OSI
3. บอกบริการต่างๆ ที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
4. สามารถบอกช่วงความกว้างของหมายเลขไอพีแอดเดรสแต่ละคลาสได้
5. อธิบายคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

จากความรู้ที่กล่าวไปแล้วในบทก่อน ได้กล่าวถึงการแชร์ไฟล์ รวมถึงการแชร์เครื่องพิมพ์บนเครือข่ายเวิร์กกรุ๊ป สำหรับในบทนี้จะกล่าวถึงการแชร์อินเทอร์เน็ตบนเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาขั้นตอนการแชร์อินเทอร์เน็ตบนเครือข่าย ในที่นี้ขอกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อยต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ดังนั้นจึงถือว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงถึงกันสามารถมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งถึงพีซีคอมพิวเตอร์ แต่ด้วยความแตกจ่างของคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารแต่อย่างใด และที่สำคัญ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลด้วยชุดโปรโตคอล TCP/IP และด้วยปัจจุบัน เครือข่ายภายในหรือเครือข่ายแลนทั่วไปที่หลายๆ หน่วยงานนอกจากจะเชื่อมโยงใช้งานภายในแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายภายนอกอย่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้ และด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้โปรโตคอล TCP/IP จัดเป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งเครือข่ายภายในและภายนอก อันเนื่องมาจากอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลนี้เป็นโปรโตคอลหลักในการสื่อสารนั่นเอง
ประวัติโดยย่อยของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นจากโครงการเครือข่ายที่ชื่อว่า “อาร์พาเน็ต” ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเครือข่ายดังกล่าวมีจุดประสงค์คือ
1.       ต้องการให้นักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยด้วยเทคโนโลยีที่อยู่ห่างไกลกัน สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ภายใต้โครงการวิจัยทางการทหาร
2.       เครือข่ายนี้จะยังคงสามารถใช้งานได้ต่อไป แม้ว่าจะถูกโจมตีหรือถูกทำลายด้วยอาวุธนิวเคลียร์
ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารยุคดิจิตอลที่มีอาณาบริเวณครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลก สำหรับอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้เริ่มใช้งานเมื่อราวปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา จนกระทั่งการใช้งานได้แพร่หลายไปยังประชาชนทั่งไป จึงทำให้เกิบบริษัทบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียนกว่า ไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) ขึ้นมา ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จของเราให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP
ความจิรงแล้ว สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP ได้พัฒนามาก่อนแบบจำลอง OSI จึงทำให้ลำดับชั้นต่างๆ ในโปรโตคอล TCP/IP ไม่ตรองกับแบบจำลอง OSI  แต่นับว่าเป็นความโชคดีที่แบบจำลองทั้งสองนั้นต่างมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกันมา ถึงแม้จะมีลำดับชั้นที่ไม่เท่ากันก็ตาม โดย TCP/IP จะมีอยู่ 5 ชั้นสื่อสาร ในขณะที่แบบจำลอง OSI จะมีอยู่ 7 ชั้นสื่อสาร


พิจารณาจากรูป จะเห็นได้ว่า 4 ลำดับชั้นแรกทั้งของ TCP/IP และแบบจำลอง OSI นั้นจะตรงกัน ในขณะที่ชั้นสื่อสารการประยุกต์ใน TCP/IP จะรวบชั้นสื่อสารควบคุมหน้าต่างการสื่อสาร ชั้นสื่อสารนำเสนอข้อมูล และชั้นสื่อสารการประยุกต์เข้าด้วยกัน
การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์และรวมถึงอุปกรณ์อย่างเร้าเตอร์ที่ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องมีหมายเลยไอพีแอดเดรส ซึ่งจะไม่มีการซ้ำกันของหมายเลยไอพี ปัจจุบันใช้หมายเลยไอพีเวอร์ชั่น 4 ซึ่งมีขนาดความยาวของหมายเลขไอพีแอดเดรส 32 บิต
หมายเลขไอพีแอดเดรสประกอบด้วย 4 ไบต์หรือ 32 บิต ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ ด้วยกันคือหมายเลยเครือข่ายและหมายเลขโฮสต์ และยังมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นบิตใช้สำหรับระบุคลาสของไอพีแอดเดรส ดังนั้นภายในหมายเลขไอพีแอดเดรสจึงประกอบด้วย 3 ฟิลด์หลักๆ ด้วยกันคือ

1.       ประเภทของคลาส เป็นคลาสที่ใช้ระบุหมายเลขไอพีแอดเดรส เพื่อให้รู้ว่าหมายเลยไอพีแอดเดรสนี้อยู่ในคลาสใด
2.       หมายเลยเครือข่าย (NetID) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการวางเส้นทางแพ็กเก็ตระหว่าเครือข่าย
3.       หมายเลขโฮสต์ เป็นส่วนที่ใช้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์หรือโฮสต์บนเครือข่าย
คลาส
รูปแบบของคลาสที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน แต่ละคลาสได้ออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการตามขนาดของแต่ละองค์กร สำหรับคลาส และคลาส ถูกนำมาใช้งานจนครบหมดแล้วดังนั้นจึงเหลือเพียงแต่คลาส ที่ใช้งานอยู่ทั่งไปในขณะนี้ส่วนคลาส และคลาส ได้ถูกสงวนไว้

คลาส หมายเลขเครือข่าย (NetID) ของคลาส มีขนาด 7 บิต โดยบิตแรกจะมีค่าคงที่คือ 0 เพื่อใช้แทนคลาส คือ 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255
คลาส หมายเลขเครือข่ายของคลาส มีขนาด 14 บิต โดยสองบิตแรกจะมีค่าคงที่คือ 10 เพื่อใช้แทนคลาส คือ 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255
คลาส หมายเลขเครือข่ายคลาส C มีขนาด 21 บิต โดย 3 บิตแรกจะมีค่าคงที่คือ 110 เพื่อใช้แทนคลาส คือ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255
ขั้นตอนการตรวจสอบและติดตั้งโมเด็มบนเครื่องโฮสต์หรือเครื่องแม่ข่าย
1.       คลิกขวาที่ My Computer และเลือกรายการ Properties
2.       คลิกที่แท็บ Hardware
3.       คลิกที่ปุ่ม Device Manager หากไดรเวอร์โมเด็มติดตั้งแล้ว สามารถข้ามไปขั้นตอนการติดตั้ง ICS ที่เครื่องโฮสต์ได้เลย
4.       กรณีที่เครื่องยังไม่ติดตั้งไดรเวอร์โมเด็ม จะเกิดเครื่องหมายตกใจขึ้น
5.       นำแผ่นติดตั้งโมเด็มใส่เข้าไปในเครื่อง และดำเนินการติดตั้งด้วยการดับเบิลคลิกที่โปรแกรมติดตั้งโมเด็ม

6.       ไดอะล็อกบ็อกซ์แสดงรายละเอียดรุ่นของโมเด็มที่ติดตั้ง
7.       คลิกที่รายการ I accept the terms in the license agreement ซึ่งเป็นการยืนยันข้อตกลงในลิขสิทธิ์ จากนั้นให้คลิกปุ่ม Next
8.       โปรแกรมกำลังแตกไฟล์เพื่อติดตั้งลงในเครื่อง
9.       หลังจากติดตั้งแล้ว ก็จะปรากฏไดรเวอร์โมเด็มเป็นที่เรียบร้อย

ขั้นตอนการติดตั้งค่า ICS ที่เครื่องโฮสต์
ให้ล็อกออนเข้าระบบในเครื่องโฮสต์ด้วยบัญชียูสเซอร์ที่เทียบเท่าระดับ Administrator จากนั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้






1.       ที่ Network Connections คลิกที่รายการ Set up small office network
2.       จะเข้าสู่ระบบการติดตั้งด้วยวิซาร์ด โดยให้คลิกที่ปุ่ม Next
3.       เลือกรายการคำสั่ง Connect to the internet และคลิกที่ปุ่ม Next
4.       เลือกรายการคำสั่ง Set up my connection manually แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
5.       เลือกรายการคำสั่ง Connect using a dial-up modem แล้วคลิกที่ปุ่ม Next


6.       กรอกชื่อ ISP ลงไป แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
7.       กรอกหมายเลขโทรศัพท์ของ ISP ที่บริการอินเทอร์เน็ต แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
8.       กรอกชื่อยูสเซอร์พร้อมรหัสผ่านลงไป (ที่มาพร้อมกับชุดแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตที่ซื้อมา)
9.       คลิกที่ปุ่ม Finish
10.   เข้าไปใน Control Panel แล้วดับเบิลคลิกที่ไอคอน Network Connections จากนั้นคลิกขวาที่ไอคอน ICS_SharedNet (หรือตามชื่อที่ได้ตั้งไว้) แล้วเลือกรายการ Properties
11.   คลิกที่แท็บ Advanced
12.   คลิกเครื่องหมายถูกตรงเซ็กบ็อกซ์ Allow other network users to connect through this computer’s internet connection
13.   คลิกเครื่องหมายถูกออกไปดังรูปแล้วตาด้วยปุ่ม OK


14.   จะเกิดข้อความแสดงชื่อบอกว่าเครื่องดังกล่าวจะติดตั้งหมายเลยเลขไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 โดยอัตโนมัติ และให้คลิกปุ่ม Yes

15.   ที่ไอคอนได้มีสัญญาลักษณ์รูปมือ ซึ่งหมายความว่าถูกแชร์ใช้งานแล้ว ถึงว่าจบขั้นตอนของการติดต่อ ICS สำหรับเครื่องโฮสต์ และจากนี้ไปเครื่องโฮสต์ก็พร้อมที่จะเป็นเครื่องแม่ข่ายเพื่อแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องลูกข่ายต่อไป